
ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 20.2 ล้านโดส สธ.ยันตามเป้าเผย ส.ค.ได้แอสตร้าฯเพิ่ม 5.4 ล้านโดส
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 เวลา 11.30 น. กระทรวงสาธารณสุขแถลงสถานการณ์วัคซีนโควิด-19 โดยนพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวถึงการฉีดวัคซีนว่า เมื่อ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์จากอเมริกาจำนวน 1.5 ล้านโดส จัดสรรไปยังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้านหน้า ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และนักเรียนไทย นักธุรกิจที่จำเป็นเดินทางไปต่างประเทศ
“วัคซีนไฟเซอร์มีวิธีการเก็บรักษาจะยุ่งยากกว่าวัคซีนชนิดอื่น การขนส่งมาไทยจะอยู่ในภาวะแช่เข็งติดลบประมาณ 70 องศาเซลเซียส เมื่อมาถึงไทยได้นำไปเก็บรักษาที่คลังวีคซีน ของบริษัทซูลิค ฟาร์มา เมื่อยังไม่ได้กระจายออกไปจะอยู่ภาวะที่แช่เข็งอยู่ ดูแลอย่างดี เวลาขนส่งจะส่งด้วยอุณหภูมิที่ติดลบ เป็นวัคซีนใหม่ ผลิตเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่าน จะหมดอายุในเดือนพฤศจิกายนนี้ เก็บแช่แข็งอยู่ได้ 6 เดือน “
- กระจายวีคซีนไฟเซอร์ให้รพ. 170 แห่งแล้ว
การกระจายวัคซีนตั้งแต่วันที่ 4-6 สิงหาคม หลังตรวจคุณภาพแล้ว มีการส่งไปทั่วประเทศ 77 จังหวัด ใน 170 โรงพยาบาลได้รับแล้ว และหลายโรงพยาบาลเริ่มฉีดแล้ว ซึ่งในรอบแรกที่ส่งออกไปอยู่ที่ 446,160 โดส เป็นวัคซีนสำหรับบุคลากรการแพทย์ด้านหน้า ที่สำรวจจากโรงพยาบาลและทะเบียนที่บันทึกผลการฉีดวัคซีน จะรู้ว่าบุคลากรแพทย์คนใดที่รับวัคซีนซิโนแวคไป 2 เข็มแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม -เมษายน
“จากข้อมูลส่วนใหญ่ 80%ต้องการวัคซีนไฟเซอร์ แต่บางแห่งก็ไม่ถึง เพราะมีบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตู้น เข็มที่3 แล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคมตอนที่ไฟเซอร์ยังมาไม่ถึง ดังนั้นการส่งวัคซีนไฟเซอร์ล็อกแรกจะจัดส่งประมาณ 50-75%ของจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประวัติฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ส่งทุกจังหวัด เน้นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก่อน ในกรุงเทพฯเพราะวัคซีนเมื่อไปถึงต้องเก็บในตู้เย็นมีการรักษาอุณหภูมิดีป้องกันการสูญเสียคุณภาพ “
- 3 วันฉีดบุคลากรการแพทย์ด่านหน้า 4.6 หมื่นคน
โดยยอดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใน 3 วันที่ผ่านมาฉีดไปแล้วจำนวน 4.6 หมื่นคน ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ใน 1 ขวด ฉีดได้ 6 โดส 6 คน แตกต่างจากวัคซีนที่ฉีดก่อนหน้านี้ ผลจากการฉีด ส่วนใหญ่แข็งแรงดี ไม่พบอาการพึงประสงค์ไม่รุนแรง มีปวดเมื่อยบริเวณที่ฉีด
- แจงยิบข่าวปลอมยอดส่งจ.ตากและศูนย์ไวรัสวิทยาหมอยง
นพ.โสภณกล่าวว่า ในช่วงนี้เนื่องจากวัคซีนไปโรงพยาบาลใหญ่เพื่อให้ดูเป็นอย่างดี สามารถฉีดได้แบบคุ้มค่า จึงไปอยู่ที่โรงพบาบาลจังหวัดใหญ่ๆ อย่างไรก็ตามมีข่าวปลอมเมื่อวานมีข่าวว่าวัคซีนไฟเซอร์ที่แม่สอด จ.ตากหายไป จากการตรวจสอบยังอยู่ครบถ้วน 4,320 โดส ที่จัดส่งให้โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และดูแลเป็นอย่างดี
อีกเรื่องมีข่าวที่ไม่ถูกต้องในการจัดสรรวัคซีน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญยังคงเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า รวมถึงนักศึกษาแพทย์ พยาบาล หรือวิชาชีพอื่นที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโควิดในขณะปฎิบัติงาน เช่น แผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสนามรวมถึงฮอทปิเทล ศูนย์พักคอย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการตรวจหาเชื้อ สวบสวนโรค สถานที่กักกันหรืออื่นๆ
“ดังนั้นห้องปฎิบัติการจะเป็นที่หนึ่งที่มีบุคลากรกลุ่มเสี่ยงเป็นบุคลากรด่านหน้า มีข่าวออกมาว่า
กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรฉีดให้กลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ที่ศูนย์เชี่ยวชาญไวรัสวิทยามีนพ.ยง ภู่วรวรรณ เป็นหัวหน้าศูนย์ เป็นข่าวที่คลาดเคลื่อน ขอชี้แจงว่าศูนย์เป็นห้องแล็ป ศูนย์ปฎิบัติการ มีการฉีดซีนโนแวคไปแล้ว 2 เข็มตั้งแต่เดือนเมษายน ในระบบข้อมูลข้อมูลของเราจะขึ้นผู้ที่มีโอกาสจะฉีดบูสเดอร์โดส “
ทั้งนี้ในระบบทะเบียนจะเป็นทะเบียนในส่วนของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เลยมีโควต้าให้ แต่ตัววัคซีนไฟเซอร์จริงๆยังไม่ได้ส่งไปในจุดเหล่านั้น เพราะจำนวนน้อยๆ วัคซีนจะถูกจัดส่งไปที่สำนักอนมัยของกทม. เพื่อรอการจัดสรรต่อ เนื่องจากจำนวนน้อย ปกติจัดส่งวัคซีนครั้งหนึ่งจะส่ง 240 โดส ซึ่งที่ศูนย์แห่งนี้มีคนที่ฉีดวัคซีนแล้วแค่ 20 คน ประกอบกับได้รับแจ้งจากศูนย์ว่าบุคลากรกลุ่มด่านหน้าได้รับการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว
“ดังนั้นโควต้ายังอยู่ที่กทม. คือสำนักอนามัย จะจัดสรรให้หน่วยงานอื่นที่มีบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องการฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ขอชี้แจงว่าไม่ได้มีการส่งวัคซีนไฟเซอร์ไปที่ศูนย์เชี่ยวชาญไวรัสวิทยาที่นพ.ยง เป็นหัวหน้าอยู่แต่อย่างใด ยังอยู่ในโควต้ากลางที่เตรียมไว้จัดสรร เพราะในกทม.มีจุดฉีดไม่มาก จุดใหญ่ๆต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ทำงานอยู่ค่อนข้างมาก ถ้าเป็นน้อยๆ หลัก 10 เราไม่ได้จัดส่งไป แต่กันไว้ให้ในช่วงแรก แต่ไม่ได้ใช้จะนำเป็นโควต้ากลาง สามารถให้ต่อกับบุคคลากรทางการแพทย์”
- วันนี้ฉีดวีคซีนแล้ว 20.2 ล้านโดส ยันเป็นไปตามเป้า
นพ.โสภณกล่าวอีกว่า สำหรับการฉีดวีคซีนในประเทศไทย เมื่อวานการฉีดวีคซีนไปแล้ว 20.2 ล้านโดส เป็นอัตราการฉีดที่เร็วขึ้นมากในช่วงหลัง โดยเข็มที่ 1 จำนวน 15.7 ล้านโดสและเข็มที่2 จำนวน 4.4 ล้านโดส และในช่วง 3 วันที่ผ่านมาเริ่มมีการฉีดเข็มที่3 จำนวน 0.19 ล้านโดส ต้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนที่มีการรณรงค์ใหญ่ฉีดวีคซีน ล่าสุดวันที่ 6 สิงหาคม มีจำนวนมากถึง 647,571 โดส ส่วนใหญ่เป็นเข็มที่1 ประมาณ 507,000 กว่าโดส เข็มที่2 ประมาณ 129,000 กว่าโดส เข็มที่3 ประมาณ 11,000 โดส
- คาดสิ้นส.ค.ลดยอดเสียชีวิตได้ครึ่งหนึ่ง
“จะเห็นได้ว่าการฉีดวัคซีนในขณะนี้สามารถดำเนินการได้เป็นไปตามแผน และในสิงหาคมไทยเราจะมีวัคซีนโควิด-19 ในทุกชนิดรวมกันมากกว่า 10 ล้านโดส ถือว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญการฉีดวัคีชีนป้องกันการป่วยและเสียชีวิต ขอเชิญชวนให้ดูแลสุขภาพและนำผู้สูงอายุมาฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด ลดการป่วยหนัก เสียชีวิตในพื้นที่ระบาดหนักโดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลภายในปลายเดือนสิงหาคมนี้ตามเป้ามหายจะต้องให้ลดเสียชีวิตลงมามากที่สุด อย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากปัจจุบันนี้“
- ส.ค.ได้แอสตร้าฯอีก 5.4 ล้านโดส
นพ.โสภณกล่าวถึงการจัดส่งวีคซีนแอสตร้าเซนนิก้าว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้ ได้รับแจ้งว่าจะจัดส่งให้ได้ ประมาณ 5.4 ล้านโดสใกล้เคียงเดือนที่ผ่านมา ที่จัดส่งให้ 5.3 ล้านโดส ในจำนวนนี้สามารถนำมาใช้เป็นวัคซีนฉีดในพื้นที่ต่างๆ ขณะนี้แนะนำการฉีด ซึ่งสูตรหลักคือเริ่มต้นฉีดซิโนแวคเป็นวัคซีนเชื้อตาย จากนั้นฉีดเข็ม1แล้ว อีก 3 สัปดาห์จะฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เร็ว เพียงแค่สัปดาห์หลังฉีดเข็มที่2 ภูมิจะขึ้นสูงและเพิ่มเร็ว สู้กับเชื้อเดลต้าเป็นไวรัสกลายพันธุ์กำลังระบาดในช่วงนี้ได้ดี
- 9 ส.ค.ฉีดแอสตร้า4แสนโดสให้จังหวัดปริมณฑล
ส่วนวัคซีนที่ประเทศอังกฤษบริจาคให้มาเป็นแอสตร้าเซนเนก้า ประมาณ 4 แสนกว่าโดส จากที่ตรวจคุณภาพและความปลอดภัยแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคมนี้จะกระจายไปยังพื้นที่มีการระบาดของโรค ให้เกิดการฉีดวีคซีนให้เร็วและต่อเนื่อง คาดว่าเป็นจังหวัดปริมณฑล และใช้เวลาฉีด 1 สัปดาห์ ซึ่งปกติจะให้วัคซีนไปถึงพื้นที่และฉีดได้เลยในเวลาสั้นๆ และทุกวันนี้ตัวเลขฉีดแอสตร้าเซนเนก้าอยู่ที่ประมาณ 1.5 แสนโดส
The post ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 20.2 ล้านโดส สธ.ยันตามเป้าเผย ส.ค.ได้แอสตร้าฯเพิ่ม 5.4 ล้านโดส appeared first on มติชนออนไลน์.
Source: Matichon